今天翻譯的是一篇來自 THE STANDARD 的文章《累了就休息,無須勉強-「不必時時刻刻都很優秀」的藝術。》
相信光是標題就會讓不少人感到觸動。在這個充滿競爭的社會中,許多人都會燃燒生命的努力工作,藉此來證明自己的價值。但如果缺乏足夠的休息,無法在工作與生活之間取得平衡(Work Life Balance),那麼即使在工作中獲得多大的成就,似乎也難以感到真正的快樂。
‘ต้องเก่ง ต้องประสบความสำเร็จ ต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพตลอดเวลา’
「時時刻刻都必須很優秀、必須成功、必須高效率的工作。」
เคยไหมที่รู้สึกอึดอัดเมื่อเห็นฟีดจากคนเก่งมากมายในสังคมที่พยายามกระตุ้นเราแบบนี้ แต่จริงๆ แล้วการไล่ตามความคาดหวังเหล่านี้โดยไม่หยุดพักอาจเป็นเส้นทางสู่ภาวะหมดไฟที่มาเร็วกว่าที่คิด จากการศึกษาของ The American Psychological Association พบว่า คนที่พักผ่อนอย่างเพียงพอและให้เวลากับตัวเอง มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่าและมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าคนที่ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง
當看見許多社會上優秀的人試圖激勵我們的那些動態消息時,你曾經感到窒息嗎?但實際上,不休息地追趕這些期待,可能會比想像中來得更快通往失去熱忱的路。來自美國心理學會(The American Psychological Association)的研究發現,那些擁有充足休息並給予自己時間的人,會有較高的工作效率,並比持續工作好幾個小時的人更具創造力。
เมื่อเรายอมรับว่า‘เราไม่จำเป็นต้องเก่งตลอดเวลา’ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ลดความเครียดและความดันเลือดลดลง ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ที่สำคัญ การยอมพักไม่ใช่ความล้มเหลว แต่เป็นกลยุทธ์สำคัญในการดูแลตัวเองให้เดินทางได้ไกลกว่าเดิม
當我們接受「我們不必時時刻刻都很優秀」時,身體會釋放減輕壓力和降低血壓的荷爾蒙,免疫系統也會運作得更好。重要的是,願意休息並不是失敗,而是照顧自己、讓自己能走得比原先更遠的重要策略。
สิ่งที่เราอยากบอกทุกคนที่กำลังเหนื่อยเพราะพยายามจะเป็นคนเก่งก็คือ“ไม่เป็นไรนะ ถ้าวันนี้ยังไม่ไหว ใจดีกับตัวเองก่อนแล้วค่อยไปต่อ สิ่งที่สำคัญในตอนนี้คือระหว่างทางของความพยายามเรามีความสุขไหม อย่าลืมว่าคุณค่าที่สูงกว่าการเป็นคนเก่งที่ประสบความสำเร็จคือสุขภาพกายใจของเราต้องไม่พังก่อนที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น”
我想向所有正因為努力成為優秀的人而感到疲憊的人說的是:「沒關係的,如果今天還做不到的話,先善待自己,再繼續前進。現在最重要的事情是,在努力的道路上,我們快樂嗎?別忘了,比起成為成功的人,更具高價值的是我們的身心健康不能先垮掉,才能到達我們的目標。」
การปลูกฝังแนวคิดว่าเป็นคนยุคนี้‘ต้องเก่งตลอดเวลา’ไม่ได้แค่ทำให้เราเหนื่อยล้า แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจในระยะยาว เมื่อเราตั้งคำถามกับค่านิยมที่ว่า‘ยิ่งยุ่งยิ่งมีคุณค่า’เราจะเริ่มมองเห็นทางเลือกใหม่ในการใช้ชีวิตที่สมดุลและมีความสุขมากขึ้น
灌輸「這一代人『必須時時刻刻都很優秀』」的觀念,不只讓我們感到疲累,也會對身體和心理健康造成長期影響。當我們對「越忙越有價值」的社會價值觀提出疑問時,我們會開始看見能更平衡、更開心地過生活的新選擇。
จากบทความของ Talkspace กล่าวถึงผลกระทบทางลบของวัฒนธรรม Hustle ที่ยกย่องความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักเป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จ ทำให้คนรุ่นใหม่เผชิญกับภาวะหมดไฟเร็วขึ้นถึง 40% เมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อน การทำงานหนักโดยไม่พักจึงไม่ใช่ความขยัน แต่คือการทำร้ายตัวเองอย่างช้าๆ และอาจไม่ได้นำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
來自 Talkspace 的文章提到,推崇以繁重工作所帶來的疲勞作為衡量成功的手段,這種奮鬥文化(Hustle Culture)的負面影響,導致新一代比上一代面臨失去熱忱的情況高達 40%。因此,不休息地繁重工作並非勤奮,而是慢性自我傷害,且可能無法帶來持久的成功。
【ศิลปะของการยอมรับความธรรมดาและการพัก】
【接受平凡與休息的藝術】
1.กล้าที่จะบอกว่า“วันนี้ทำไม่ไหว”ความกล้าที่แท้จริงไม่ใช่การฝืนทำทุกอย่างจนสำเร็จ แต่คือความสามารถในการรับรู้ขีดจำกัดของตัวเอง และกล้าที่จะพูดว่า“พอแล้ว”เมื่อร่างกายและจิตใจต้องการการพักผ่อน การฟังเสียงเตือนจากร่างกายเป็นสัญญาณของความเข้าใจตัวเองที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่ความอ่อนแอ
1.敢於說:「今天做不下去了」-真正的勇敢並不是強迫自己完成所有事情,而是擁有認知個人極限的能力;且當身體和心理需要休息時,敢於說:「夠了」。聆聽身體發出的警示聲,是深切理解自己的重要訊號,而非軟弱。
2.ให้นิยามใหม่กับคำว่า‘เก่ง’ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า‘เก่ง’ในความหมายของเราคืออะไร? หากคำนิยามนั้นเน้นแต่ผลงาน ความสำเร็จ หรือความเห็นของคนอื่น อาจถึงเวลาที่ต้องทบทวนใหม่ คนที่เก่งอย่างแท้จริงคือคนที่รู้จักดูแลตัวเอง เข้าใจว่าเมื่อไรควรเดิน เมื่อไรควรวิ่ง และเมื่อไรควรหยุดพัก
2.重新定義「優秀」這個詞-試著對自己提問:「對我來說『優秀』的涵義是什麼?」如果這個詞的定義只強調成果、成功,或他人的看法,可能是時候必須重新思考了。真正優秀的人,是懂得照顧自己,清楚何時該走、何時該跑,以及何時該休息的人。
3.ฟังเสียงของตัวเอง ไม่ใช่เสียงของสังคม ลองถามตัวเองว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เราทำเพราะอยากทำจริงๆ หรือทำเพราะกลัวจะไม่ดีพอ? เรากำลังวิ่งไล่ตามอะไร และสิ่งนั้นมีความหมายกับเราจริงหรือไม่? บางครั้งเราอาจพบว่าเราใช้พลังงานมากมายไปกับความคาดหวังที่ไม่ใช่ของเราเอง
3.傾聽自己的聲音,而不是社會的聲音-試著問問自己,我們正在做的事情,是因為真的想做,還是因為害怕自己不夠好?我們正追趕著什麼?那個東西對我們而言,真的有意義嗎?有時,我們可能會發現,我們花費了大量精力在那些並非屬於我們自己的期待上。
【วิธีพักอย่างมีพลัง】
【有能量的休息方式】
การพักไม่ใช่การเกียจคร้าน แต่เป็นการชาร์จพลังที่จำเป็น เปรียบเสมือนการเติมน้ำมันให้รถที่วิ่งมาไกล ไม่มีรถคันไหนวิ่งได้โดยไม่ต้องเติมน้ำมันฉันใด ร่างกายและจิตใจของเราก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดฉันนั้น
休息不是懶惰,而是必要的充電,就像替行駛了很遠的車子加油一樣,沒有哪輛車是無需加油就能向前跑的。同樣地,我們的身體和心理也沒辦法無止境的工作。
วิธีพักอย่างมีคุณภาพที่ทำได้ง่ายๆ
簡單就能做到的有品質休息方式:
1.การเดินเล่นในที่มีธรรมชาติ แม้เพียง 20 นาที ก็ช่วยลดฮอร์โมนความเครียดได้ถึง 30%
2.ปิดการแจ้งเตือนและโซเชียลมีเดีย อย่างน้อยวันละ 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้สมองได้พัก
3.ทำกิจกรรมที่ไม่ต้องคิดมาก เช่น วาดรูป ระบายสี ทำอาหาร ฟังเพลง หรือทำงานฝีมือ
4.นั่งนิ่งๆ ไม่ทำอะไร แค่ 10 นาที ลองสังเกตลมหายใจและความรู้สึกที่เกิดขึ้น
5.นอนหลับให้เพียงพอ การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ
1.在大自然中散步-儘管只有 20 分鐘,也有助於降低達 30% 的壓力荷爾蒙。
2.關閉通知與社群媒體-至少每天 1-2 小時,藉此讓大腦休息。
3.進行不需要思考太多的活動-例如畫圖、填色、做飯、聽音樂或做手作。
4.靜靜的坐著,什麼都不做-只要 10 分鐘,試著觀察當下的呼吸與所產生的感受。
5.睡得充足-最好的休息方式,是有品質的睡眠。
การยอมรับว่าเราไม่จำเป็นต้องเก่งตลอดเวลาไม่ใช่การยอมแพ้ แต่เป็นการเลือกที่จะรักตัวเองมากขึ้น เมื่อเรารู้จักพัก เราจะพบว่าเรามีพลังมากพอที่จะเดินต่อไปได้อีกไกล และที่สำคัญ การเดินทางนั้นจะมีความสุขมากขึ้น
接受自己不必時時刻刻都很優秀,並不是認輸,而是更愛自己的選擇。當我們懂得休息,我們會發現自己擁有足夠的能量,可以再繼續前行,且重要的是,那樣的旅程會更加愉快。
เราอยากบอกผู้อ่านว่า คุณค่าของเราไม่ได้อยู่ที่ว่าเราทำงานได้มากแค่ไหน แต่อยู่ที่เรามีความสุขกับชีวิตมากเพียงใด คุณมีสิทธิ์ที่จะเลือก และการเลือกพักเมื่อจำเป็นอาจเป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาดที่สุดที่คุณทำเพื่อตัวเอง
我想告訴讀者們,我們的價值不在於我們能做多少工作,而在於我們對生活能感到多少快樂。你有選擇的權利,而在必要時選擇休息,可能是你為自己所做的最明智的決定。
本篇取自 THE STANDARD:https://thestandard.co/life/art-of-not-being-great-all-the-time/